วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์น้ำมันโลกปี 2553













ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 11

บทความในหมวดหมู่ "หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย"

มีบทความ 39 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 39 หน้า
!
* รายชื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
?
* แม่แบบ:หนังสือพิมพ์ไทย

* กรุงเทพธุรกิจ
* กรุงเทพเดลิเมล์

* ข่าวสด

* คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)
* คิกออฟ

* จีนโนสยามวารศัพท์
* เจ้าพระยา (หนังสือพิมพ์)

* ซิงเสียนเยอะเป้า

* ฐานเศรษฐกิจ

* ดรุโณวาท
* เดลินิวส์

* ไทยรัฐ
* ทางไท
* ไทย (หนังสือพิมพ์)
* ไทยโพสต์

* เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)
* แนวหน้า

* บางกอกรีคอเดอ
* บางกอกโพสต์
* บ้านเมือง

* ประชาชาติธุรกิจ
* ประชาทรรศน์ (หนังสือพิมพ์)
* ประชาไท

* พุทธสาสนา

* มติชน (หนังสือพิมพ์)
* มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้

* โลกวันนี้

* สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน
* สมิหลา ไทมส์
* สยามกีฬารายวัน
* สยามดารา
* สยามธุรกิจ
* สยามรัฐ

* เอเอสทีวีผู้จัดการ

* โคราชรายวัน คนอีสาน
* โฟกัสภาคใต้

* ไทยเรดนิว

ที่มา

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

หนังสือพิมพ์ในไทย
รายวัน

ข่าวสด เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือมติชน
คมชัดลึก เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สองของประเทศ
ไทยรัฐ สัญลักษณ์เป็นภาพฟันเฟือง ปากกาขนนก สายฟ้า และกล้องถ่ายรูป ซ้อนกันอยู่ภายในวงกลม ขวามือมีตัวอักษร ไทยรัฐ
ไทยโพสต์ หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน
แนวหน้า หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน
บางกอก ทูเดย์ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือทราฟฟิก คอร์เนอร์ พับลิชชิง - เว็บไซต์บางกอก ทูเดย์
บ้านเมือง เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน มีรูปนกคาบข่าวอยู่บนตัวหนังสือ "บ้านเมือง" สีแดงเป็นสัญลักษณ์
ประชาทรรศน์ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีนายเนวิน ชิดชอบ อยู่เบื้องหลัง
พิมพ์ไทย หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีชื่อเสียงในอดีต
มติชน เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือมติชน
โลกวันนี้ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือวัฏฏะ - เว็บไซต์เครือวัฏฏะ เว็บไซต์โลกวันนี้
สยามรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีอายุยาวนานที่สุด ที่ยังวางจำหน่ายอยู่
รายสามวัน
มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้
รายสัปดาห์
โลกวันนี้ วันสุข
ไทยเรดนิวส์
นอร์เธิร์นโพสต์ฉบับแนวร่วมเรด

ที่มา

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

กำเนิดหนังสือพิมพ์

ประวัติศาสตร์บันทึกถึงช่วงเวลาประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ยุคอาณาจักรโรมันที่อารยธรรมเจริญยิ่ง จักพรรดิจูเลียสซีซาร์บัญชาให้อาลักษณ์คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ แล้วนำไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่านทั่วถึง ใบประกาศนั้นเรียก แอ็กตา ดิอูนา (Acta diuna) นับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ ขณะที่ทางตะวันออก จีนแจ้งเกิดหนังสือพิมพ์ ซิงเป่า (Tsing Pao) ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับราชการสำนักมาตั้งแต่ พ.ศ.1043
จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ.1997 ที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตัน นำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ
การพัฒนาแท่นพิมพ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ที่สุดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็เกิดขึ้น คือ Avisa Relation Order Zeitung พิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ.2152 แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวัน กระทั่ง พ.ศ.2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป เป็นของใหม่ที่ได้รับความสนใจมากพอควร แต่ออกเป็นรายสัปดาห์ไม่ทันใจผู้อ่าน

ที่มา

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบที่ต้องการการออกแบบ ดังนี้
1. หน้าแรก
หน้าแรกเป็นหน้าที่นำเสนอให้ผู้อ่ารทราบว่ามีสิ่งใดที่หนังสือพิมพ์จะมีให้ แก่ผู้อ่านมากที่สุดก็ว่าได้ ส่วนประกอบที่มีปรากฏในหน้าแรก มีดังนี้
1.1แถบชื่อ ( name plate flag title plate) หรือ “หัวหน้งสือ” คือ ชื่อของหนังสือพิมพ์ โดยมักมีส่วนตัวพิมพ์ที่แสดงวันที่ออก (dateline) เอาไว้ด้วย
1.2หัวข่าว (headline) หรือ “พาดหัว” เป็นข้อความสำคัญที่นอกจากจะบ่งชี้ถึงข่าวเรื่องนั้นๆ แล้วยังทำหน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็น ส่วนประกอบนี้มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหน้าอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยจะเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.2.1) ชุดหัวข่าว (bank)คือ หัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โยมีความยาว 1บรรทัด ทำให้บางครั้งก็เรียกว่าบรรทัด
1.2.2) ขั้นหัวข่าว (deck) คือ ชุดของหัวข่าวที่เป้นตัวพิมพ์เรียงกันโดยมีความยาวประมาณ 1 แถวขึ้นไป
1.3) หัวรอง (sub headline)คือหัวข่าวเล็กเพื่อขยายความหัวข่าวเด่นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อนำผู้อ่านสู้เนื้อข่าว
1.4) ตัวเนื้อเรื่อง (body matter หรือ text) เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าวซึ่งหากมีใบหน้าแรกก็มักจะมีเป็นการเริ่มนำเท่านั้น
1.5) ภาพประกอบข่าว เป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว ภาพประกอบในหน้าแรกนี้มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข่าวที่ใหญ่ที่สุดภาพประกอบนี้อาจจะมีจำนวน 1 ภาพหรือมากกว่าก็ได้
2.หน้าใน
ส่วนประกอบที่มีปรากฏอยู่ในหน้าในนี้ มีดังนี้
2.1) หัวข่าว หรือ พาดหัว เป็นข้อความในลักษณะเดียวกันกับหัวข่าว หรือ พาดหัวในหน้าแรก โดยหัวข่าวนี้นอกจะมีอยู่ในหน้าแรกแล้วยังมีอยู่ในหน้าอื่นๆ ด้วย
2.2) หัวรอง เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ แต่เล็กกว่าข่าว โดยมีหัวรองแทรกอยู่
2.3) หัวต่อ (jump head)เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำหน้าที่บ่งบอกให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต่อจากหัวข่าวใดในหน้าแรก
2.4) หัวคอลัมน์ประจำ (standing head)เป็นชื่อของคอลัมน์ซึ่งเป็นเนื้อหาข่าวประเภทที่มีอยู่ประจำในทุกฉบับ เช่น คอมลัมน์บทบรรณาธิการ คอลัมน์วิเคราะห์ ข่าวต่างประเทศ เป็นต้น
2.5) ตัวเนื้อเรื่องเป็นข้อความที่นำเสนอเนื้อหาข่าวอันเป็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาข่าวที่ต่อมาจากข่าวในหน้าแรกหรือเป็นเนื้อหาข่าวของเรื่องในหน้าในหน้านั้นๆ
2.6) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) หรือพิมประกาศ (masthead)เป็นส่วนประกอบที่ระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้พิมพ์ ในบางครั้งอาจจะมีการระบุผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์นั้นๆๆ ด้วย
2.7) ภาพประกอบข่าวเป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว
2.8) องค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์
3.เนื้อหาโฆษณา
เนื้อหาที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีขนาดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะมีขนาดใหญ่ ขนาดมาตรฐานของเนื้อที่โฆษณาที่พบเห็นกันทั่วไป มีดั้งนี้
3.1) เต็มหน้า (full page) คือ ใช้พื้นที่ทั้งหมดของหน้ากระดาษ
3.2) ครึ่งหน้า (half page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้าของกระดาษ
3.3) เศาหนึ่งส่วนสี่หน้า (quarter page)คือใช้พื้นที่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของกระดาษ
3.4) จูเนียร์เพจ (junior page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณใกล้เคียงกับขนาดหน้านิตยสาร พื้นที่โฆษณานี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โฆษณาเดียวกันทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับโฆษณาขนาดพิเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า
3.5) แถบโฆษณา (strip advertising) คือใช้พื้นที่เป็นแถบด้านบนหรือด้านล่างตลอดความกว้างของหน้าหนังสือพิมพ์ และสูงประมาณไม่เกิน 5 นิ้วนอกจากเนื้อที่โฆษณาขนาดมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการซื้อเนื้อที่ในลักษณะที่เป็น คอลัมน์นิ้ว
ที่มา

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 7

ประเภทของหนังสือพิมพ์
เป็นการแบ่งตามภาระหน้าที่หลักที่แสดงออกมาทางเนื้อหา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่มุ่งเสนอเนื้อหาที่ประชาชนจำเป็นจะต้องรู้ โดยตระหนักถึง ความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวม
และประเทศชาติ ได้แก่เนื้อหาที่เป็นปัญหาสาธารณะทางสังคม การเมือง การเลือกตั้งทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาทางธุรกิจและเศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น ข่าว ประเภทนี้มักจะมีการตอบสนองช้าหนังสือพิมพ์ประเภทนี้
จะนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นข่าว โดยบอกเล่าถึงภูมิหลัง ของข่าว และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับข่าวนั้น ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ รวมไปถึงมีการเสนอความคิดเห็นในประเด็นของข่าวด้วย และจะเป็น
ผู้นำในการสร้างสรรค์ประชามติ
ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ ได้แก่ มติชน ไทยโพสต์ เดอะเนชั่น บางกอกโพสต์
สยามรัฐ แนวหน้า กรุงเทพธุรกิจ ฯลฯ
2. หนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่มุ่งเสนอเนื้อหาที่คนทั่วไปสนใจ ใคร่รู้ รวมไปถึงให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับ
อาชญากรรม อุบัติเหตุ วิบัติภัย ความหายนะ กีฬา ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้นซึ่งข่าวประเภทนี้
มักจะมีการตอบสนองแบบทันทีทันใดหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะรายงานข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากกว่า
จะเผยแพร่ความคิดเห็นนอกจากนี้ยังเน้นการรายงานข่าวที่รวดเร็ว สด ทันต่อเหตุการณ์ ทันอกทันใจผู้อ่าน

ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก พิมพ์ไทย ฯลฯ

ที่มา

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

ประโยชน์จากกระดาษหนังสือพิมพ์

กระดาษหนังสือพิมพ์ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการดูดซึมสูง เพราะมันต้องดูดซึมหมึกพิมพ์ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า มันเป็นเครื่องมือในการดูดซับของเหลวและความชื้นได้ดี ฉะนั้น หลังจากอ่านแล้ว ลองใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อ..
1. ดับกลิ่นภาชนะใส่อาหาร
ยัดกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ขยำเป็นก้อนกลม ลงในกล่องใส่อาหาร หรือกระติกเก็บความร้อนปิดฝาแล้วทิ้งไว้ข้ามคืน
2. ทำให้ผลไม้สุก
ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลไม้ทีละลูก ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง
3. เช็ดกระจก
ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์กับน้ำยาทำความสะอาดในการทำความสะอาดกระจก และหน้าต่าง มันจะกำจัดความสกปรกโดยไม่ทิ้งคราบหรือร่องรอยไว้เลย
4. ทำให้รองเท้าแห้ง
ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นก้อนกลม ยัดใส่ไว้ในรองเท้า ทิ้งไว้หนึ่งคืน มันจะดูดซับความชื้นและกลิ่นจากรองเท้าได้ดี
5. ประโยชน์ในตู้เย็น
ปูพื้นช่องใส่ผักในตู้เย็นด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ มันจะทำให้ช่องผักแห้งและปราศจากกลิ่นอยู่เสมอ

ที่มา

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

หนังสือพิมพ์ประเภทที่พิมพ์อักษร
หนังสือพิมพ์กรอบเช้า (morning newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่ขายในช่วงเช้าของแต่ละวัน แต่มีข้อจำกัดก็คือ ถ้าหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใดที่มีคนอ่านมากจะต้องเพิ่มยอดขายวันละหลายรอบ แบ่งเป็นกรอบ คือ
กรอบแรก จะถูกส่งไปตามจังหวัดไกล ๆ รวมถึงในเขตกรุงเทพฯ ด้วยค่ะ
กรอบต่อมา จะส่งไปยังจังหวัดใกล้ ๆ
กรอบหลังสุด จะออกขายช่วงเช้าในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดรอบ ๆ รวมถึงสมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ด้วยค่ะ
หนังสือพิมพ์ระดับนานาชาติ (international newapaper) จัดทำขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้อ่านทั่วโลก โดยต้องใช้ภาษเป็นภาษาสากล เช่น ภาษาอังกฤษ ค่ะ
หนังสือพิมพ์ระดับชาติ (national newspaper) มีการพิมพ์ออกจำหน่ายทั่วประเทศ เนื้อหาสาระจะเป็นส่วนรวมของทั่วทั้งประเทศ ทุกภูมิภาค เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ว่าท้องถิ่นหรือภูมิภาคใดต่างก็ให้ความสนใจที่จะอ่าน
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (local newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายวัน ราย 3 วัน หรือรายสัปดาห์ก็ตาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ที่เน้นด้านข่าวสาร เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยหนังสือพิมพ์ประเภทนี้แบ่งย่อยได้อีก 3 ระดับค่ะ
ระดับภูมิภาค (regional newspaper)จะจัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ข้อดีของหนังสือพิมพ์ประเภทนี้ คือ เป็นกระบอกเสียงและเป็นหูเป็นตาแก่ประชาชนในการเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์แก่ประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ
ระดับจังหวัด (provincial newspaper) จัดทำขึ้นเพื่อผู้อ่านในจังหวัดนั้น ๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
ระดับชุมชน (community newspaper) เป็นหนังสือพิมพ์ที่รับใช้ประชาชนในชุมชนนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนในเขตเมืองหรือชานเมืองก็ตาม
Party Press เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากพรรคการเมืองที่ให้การสนับสนุน
Penny Press คือ หนังสือพิมพ์ที่ได้รับการสนันสุนจากผู้อ่านโดยการลงโฆษณา และจากการจำหน่ายหนังสือพิมพ์


ที่มา

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

การอ่านหนังสือพิมพ์
ข้อดี
1.ไม่ต้องใช้เวลาในการโหลด แค่เปิดพลิกๆก็อ่านได้ ไม่เสียเวลา
2.ไม่เปลืองทรัพยากรด้านพลังงานไฟฟ้า
3.ไม่โดนรังสีที่ออกมาจากคอมทำให้มีผลเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจทำให้สายตาสั้นลงเร็วขึ้น และความเสี่ยงโรคอื่นๆอีกมากมาย
4.สามารถพกไปอ่านที่ไหนก็ได้ อ่านไม่จบก็พับเก็บไว้ก่อนแล้วเอาติดตัวไปด้วย จากนั้นค่อยอ่านใหม่

ข้อเสีย
1. เปลืองเงิน ถ้าจะอ่านข่าว ธุรกิจรายวัน เดอะเนชั่น และ ไทยรัฐ ต้องเสียเงินซื้อทั้งสามเล่มเลยทีเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2. เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ เพราะว่าซื้อมากๆนั้น ทางโรงก็สั่งพิมมากขึ้นทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น
3. บ้านรกอ่านทุกวันๆ เก็บมันไม่ได้เอาไปทิ้งเป็นประจำ
4. การที่เราชอบหัวข้อไหนก็คลิ๊กได้เลยตรงหัวข้อนั้นๆ ทำให้เราไม่ได้สนใจอย่างอื่นและไม่ได้เข้าไปดู กลายเป็นว่ารู้ไม่ครอบคลุมแต่รู้เจาะจง เช่น ชอบดาราบันเทิง ก็จะรู้แต่เรื่องนั้น แต่ถ้าถากมีหนังสือพิมพ์ หัวข้อข่าวสามารถดึงดูดเราให้เราอ่านคอลัมน์อื่นๆได้

ที่มา

ส่งงาน OPAC ค่ะ

คลิกที่นี่ค่ะ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

เดลินิวส์วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกลุ่มมิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นเจ้าของ และบรรณาธิการ ซึ่งหมอบรัดเลย์ได้ออก หนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์ฉบับแรกในประเทศไทย ชื่อ หนังสือจดหมายเหตุ (บางกอกรีคอเดอ - อังกฤษ: The Bangkok Recorder) พิมพ์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่มีอายุได้ไม่ถึง 2 ปี ก็ต้องปิดกิจการลง

หลังจากนั้น ก็มีหนังสือพิมพ์ออกมาอีกหลายฉบับ ทั้งรายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายปี อาทิ บางกอกคาเลนดาร์ ต่อมาพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น บางกอก เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Bangkok Daily Advertiser) และ สยาม เดลี่ แอดเวอไทเซอ (อังกฤษ: Siam Daily Advertiser)

ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นผู้จัดทำ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ชื่อ ราชกิจจานุเบกษา เพื่อชี้แจงข่าวคลาดเคลื่อน ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ และเพื่อแจ้งข่าวการบริหารพระราชภารกิจทางการเมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ที่เผยแพร่สู่ประชาชน ชื่อ ดรุโณวาท และมีหนังสือพิมพ์ที่ยอดจำหน่ายสูงมาก จนกระทั่งต้องมีระบบจัดส่งหนังสือ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการไปรษณีย์ไทย คือ ข่าวราชการ (อังกฤษ: Court - ค็อต) ในยุคนี้ วงการหนังสือพิมพ์ตื่นตัวมาก โดยมีการออกหนังสือพิมพ์ถึง 59 ฉบับ

สมัยรัชกาลที่ 6 กิจการหนังสือพิมพ์ก้าวหน้ามาก ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 7 มีหนังสือพิมพ์ 55 ฉบับ โดยฉบับที่มีชื่อเสียง และน่าเชื่อถือที่สุดคือ ประชาชาติรายวัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้อ่านอย่างสูง โดยเฉพาะปัญญาชน ที่ตื่นตัวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

สมัยรัชกาลที่ 8 ต่อเนื่องถึงรัชกาลปัจจุบัน หนังสือพิมพ์เริ่มถูกควบคุมโดยรัฐบาล และเมื่อปี พ.ศ. 2501 เกิดรัฐประหาร นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หนังสือพิมพ์ตกไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประกาศคณะปฏิวัติ ในยุคนี้มีหนังสือพิมพ์ 31 ฉบับ เช่น เกียรติศักดิ์ (2495-2513), เดลินิวส์ (2507-ปัจจุบัน), เดลิเมล์ (2493-2501), ไทยรัฐ (2492-ปัจจุบัน), เสียงอ่างทอง (2500-2507), ไทยเดลี่ (2512-), แนวหน้า (2495-2506), ประชาธิปไตย (2502-), พิมพ์ไทย (2489-ปัจจุบัน), สยามนิกร (2481-2512), สารเสรี (2497-2508), สยามรัฐ (2493-ปัจจุบัน), อาณาจักรไทย (2501-2504) เป็นต้น

ที่มา

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 2

หนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก

เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง


ที่มา


วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1

วิเคราะห์คู่ชิงชนะเลิศ ฮอนแลนด์-สเปน
admin Jul 09, 2010 Comments 10
กังหันสีส้ม ฮอลแลนด์ลงสนามในฟุตบอลโลกคู่ชิงที่3 พบกับกระทิงดุ สเปน ณ.สนาม ซ๊อคเกอร์ ชิตี้ สเตเดี้ยม วันที่ 11 กรกฏาคม 2553 เวลา 1.00 น ช่อง 7 ถ่ายทอดสดผลงานที่ผ่าน: ทั้งคู่เก็บชัยชนะในรอบ 4 ทีมเข้ามาชิงชนะเลิศโดยฮอลแลนด์เอาชนะอุรุกวัยมาได้แบบเฉียดฉิว 3-2เช่นเดียวกับสเปนที่เฉือนเอาชนะเยอรมันมาได้จากการยิงประตูของคาร์เลส ปูโยลในช่วงท้ายเกม โดยคู่นี้ไม่เคยพบกันในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมาก่อน แต่ในเกมโดยรวมแล้ว ฮอลแลนด์มีผลงานดีกว่าสเปนอยู่เล็กน้อย นัดล่าสุดที่พวกเขาพบกันก็เมื่อ 8 ปีที่แล้วโดยฮอลแลนด์เฉือนเอาชนะสเปนไปได้ 1-0


ที่มา

ส่งหัวข้อโปรเจ็กค่ะ

ราคานำมันขึ้นลง...เพราะอะไร?
คลิกที่นี่ค่ะ