วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์น้ำมันโลกปี 2553













ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 11

บทความในหมวดหมู่ "หนังสือพิมพ์ในประเทศไทย"

มีบทความ 39 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 39 หน้า
!
* รายชื่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย
?
* แม่แบบ:หนังสือพิมพ์ไทย

* กรุงเทพธุรกิจ
* กรุงเทพเดลิเมล์

* ข่าวสด

* คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)
* คิกออฟ

* จีนโนสยามวารศัพท์
* เจ้าพระยา (หนังสือพิมพ์)

* ซิงเสียนเยอะเป้า

* ฐานเศรษฐกิจ

* ดรุโณวาท
* เดลินิวส์

* ไทยรัฐ
* ทางไท
* ไทย (หนังสือพิมพ์)
* ไทยโพสต์

* เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)
* แนวหน้า

* บางกอกรีคอเดอ
* บางกอกโพสต์
* บ้านเมือง

* ประชาชาติธุรกิจ
* ประชาทรรศน์ (หนังสือพิมพ์)
* ประชาไท

* พุทธสาสนา

* มติชน (หนังสือพิมพ์)
* มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้

* โลกวันนี้

* สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน
* สมิหลา ไทมส์
* สยามกีฬารายวัน
* สยามดารา
* สยามธุรกิจ
* สยามรัฐ

* เอเอสทีวีผู้จัดการ

* โคราชรายวัน คนอีสาน
* โฟกัสภาคใต้

* ไทยเรดนิว

ที่มา

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

หนังสือพิมพ์ในไทย
รายวัน

ข่าวสด เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือมติชน
คมชัดลึก เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับที่สองของประเทศ
ไทยรัฐ สัญลักษณ์เป็นภาพฟันเฟือง ปากกาขนนก สายฟ้า และกล้องถ่ายรูป ซ้อนกันอยู่ภายในวงกลม ขวามือมีตัวอักษร ไทยรัฐ
ไทยโพสต์ หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน
แนวหน้า หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน
บางกอก ทูเดย์ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือทราฟฟิก คอร์เนอร์ พับลิชชิง - เว็บไซต์บางกอก ทูเดย์
บ้านเมือง เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน มีรูปนกคาบข่าวอยู่บนตัวหนังสือ "บ้านเมือง" สีแดงเป็นสัญลักษณ์
ประชาทรรศน์ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีนายเนวิน ชิดชอบ อยู่เบื้องหลัง
พิมพ์ไทย หนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีชื่อเสียงในอดีต
มติชน เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือมติชน
โลกวันนี้ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ในเครือวัฏฏะ - เว็บไซต์เครือวัฏฏะ เว็บไซต์โลกวันนี้
สยามรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน ที่มีอายุยาวนานที่สุด ที่ยังวางจำหน่ายอยู่
รายสามวัน
มหาประชาชนฉบับความจริงวันนี้
รายสัปดาห์
โลกวันนี้ วันสุข
ไทยเรดนิวส์
นอร์เธิร์นโพสต์ฉบับแนวร่วมเรด

ที่มา

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

กำเนิดหนังสือพิมพ์

ประวัติศาสตร์บันทึกถึงช่วงเวลาประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ยุคอาณาจักรโรมันที่อารยธรรมเจริญยิ่ง จักพรรดิจูเลียสซีซาร์บัญชาให้อาลักษณ์คัดลอกแถลงการณ์ของพระองค์ รวมถึงข่าวประจำวันของราชการ แล้วนำไปปิดไว้ตามกำแพงในที่ชุมชนเพื่อประชาชนได้อ่านทั่วถึง ใบประกาศนั้นเรียก แอ็กตา ดิอูนา (Acta diuna) นับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ ขณะที่ทางตะวันออก จีนแจ้งเกิดหนังสือพิมพ์ ซิงเป่า (Tsing Pao) ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับราชการสำนักมาตั้งแต่ พ.ศ.1043
จากแผ่นประกาศข่าว วิวัฒนาการเป็นจดหมายข่าว และหนังสือข่าว รายงานข่าวสารทางการค้า การเมือง แล้วพัฒนาเป็นหนังสือพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก พ.ศ.1997 ที่ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ขึ้น และวิลเลียมส์ แซกส์ตัน นำเครื่องพิมพ์ไปใช้ในประเทศอังกฤษ
การพัฒนาแท่นพิมพ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ที่สุดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกก็เกิดขึ้น คือ Avisa Relation Order Zeitung พิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ.2152 แต่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวัน กระทั่ง พ.ศ.2165 อังกฤษรวบรวมข่าวรายวันมาพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ในชื่อ A Weekly News London ถือเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก โดยเสนอข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคยุโรป เป็นของใหม่ที่ได้รับความสนใจมากพอควร แต่ออกเป็นรายสัปดาห์ไม่ทันใจผู้อ่าน

ที่มา

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์

หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบที่ต้องการการออกแบบ ดังนี้
1. หน้าแรก
หน้าแรกเป็นหน้าที่นำเสนอให้ผู้อ่ารทราบว่ามีสิ่งใดที่หนังสือพิมพ์จะมีให้ แก่ผู้อ่านมากที่สุดก็ว่าได้ ส่วนประกอบที่มีปรากฏในหน้าแรก มีดังนี้
1.1แถบชื่อ ( name plate flag title plate) หรือ “หัวหน้งสือ” คือ ชื่อของหนังสือพิมพ์ โดยมักมีส่วนตัวพิมพ์ที่แสดงวันที่ออก (dateline) เอาไว้ด้วย
1.2หัวข่าว (headline) หรือ “พาดหัว” เป็นข้อความสำคัญที่นอกจากจะบ่งชี้ถึงข่าวเรื่องนั้นๆ แล้วยังทำหน้าที่เรียกร้องความสนใจจากผู้พบเห็น ส่วนประกอบนี้มีอยู่ทั้งในหน้าแรกและหน้าอื่นๆ ของหนังสือพิมพ์ โดยจะเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.2.1) ชุดหัวข่าว (bank)คือ หัวข่าวที่เป็นตัวพิมพ์เรียงกัน โยมีความยาว 1บรรทัด ทำให้บางครั้งก็เรียกว่าบรรทัด
1.2.2) ขั้นหัวข่าว (deck) คือ ชุดของหัวข่าวที่เป้นตัวพิมพ์เรียงกันโดยมีความยาวประมาณ 1 แถวขึ้นไป
1.3) หัวรอง (sub headline)คือหัวข่าวเล็กเพื่อขยายความหัวข่าวเด่นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อนำผู้อ่านสู้เนื้อข่าว
1.4) ตัวเนื้อเรื่อง (body matter หรือ text) เป็นส่วนที่นำเสนอเนื้อหาของข่าวซึ่งหากมีใบหน้าแรกก็มักจะมีเป็นการเริ่มนำเท่านั้น
1.5) ภาพประกอบข่าว เป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว ภาพประกอบในหน้าแรกนี้มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวข่าวที่ใหญ่ที่สุดภาพประกอบนี้อาจจะมีจำนวน 1 ภาพหรือมากกว่าก็ได้
2.หน้าใน
ส่วนประกอบที่มีปรากฏอยู่ในหน้าในนี้ มีดังนี้
2.1) หัวข่าว หรือ พาดหัว เป็นข้อความในลักษณะเดียวกันกับหัวข่าว หรือ พาดหัวในหน้าแรก โดยหัวข่าวนี้นอกจะมีอยู่ในหน้าแรกแล้วยังมีอยู่ในหน้าอื่นๆ ด้วย
2.2) หัวรอง เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์อื่นๆ แต่เล็กกว่าข่าว โดยมีหัวรองแทรกอยู่
2.3) หัวต่อ (jump head)เป็นส่วนประกอบที่เป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้ทำหน้าที่บ่งบอกให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข่าวที่ต่อจากหัวข่าวใดในหน้าแรก
2.4) หัวคอลัมน์ประจำ (standing head)เป็นชื่อของคอลัมน์ซึ่งเป็นเนื้อหาข่าวประเภทที่มีอยู่ประจำในทุกฉบับ เช่น คอมลัมน์บทบรรณาธิการ คอลัมน์วิเคราะห์ ข่าวต่างประเทศ เป็นต้น
2.5) ตัวเนื้อเรื่องเป็นข้อความที่นำเสนอเนื้อหาข่าวอันเป็นรายละเอียด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาข่าวที่ต่อมาจากข่าวในหน้าแรกหรือเป็นเนื้อหาข่าวของเรื่องในหน้าในหน้านั้นๆ
2.6) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) หรือพิมประกาศ (masthead)เป็นส่วนประกอบที่ระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้พิมพ์ ในบางครั้งอาจจะมีการระบุผู้ที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์นั้นๆๆ ด้วย
2.7) ภาพประกอบข่าวเป็นส่วนที่นำมาเพื่อช่วยเรียกร้องความสนใจร่วมกับหัวข่าว
2.8) องค์ประกอบอื่นๆ ทางเรขศิลป์
3.เนื้อหาโฆษณา
เนื้อหาที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์มีขนาดที่หลากหลาย บางครั้งอาจจะมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะมีขนาดใหญ่ ขนาดมาตรฐานของเนื้อที่โฆษณาที่พบเห็นกันทั่วไป มีดั้งนี้
3.1) เต็มหน้า (full page) คือ ใช้พื้นที่ทั้งหมดของหน้ากระดาษ
3.2) ครึ่งหน้า (half page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหน้าของกระดาษ
3.3) เศาหนึ่งส่วนสี่หน้า (quarter page)คือใช้พื้นที่ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของกระดาษ
3.4) จูเนียร์เพจ (junior page) คือ ใช้พื้นที่ประมาณใกล้เคียงกับขนาดหน้านิตยสาร พื้นที่โฆษณานี้มีขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โฆษณาเดียวกันทั้งในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เพราะมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับโฆษณาขนาดพิเศษหนึ่งส่วนสี่หน้า
3.5) แถบโฆษณา (strip advertising) คือใช้พื้นที่เป็นแถบด้านบนหรือด้านล่างตลอดความกว้างของหน้าหนังสือพิมพ์ และสูงประมาณไม่เกิน 5 นิ้วนอกจากเนื้อที่โฆษณาขนาดมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการซื้อเนื้อที่ในลักษณะที่เป็น คอลัมน์นิ้ว
ที่มา